Australian Alumni Career and Education Expo
06/02/2019การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Data Analytics with Pentaho BI, Weka, R, and Hadoop From Business Intelligence to Data Science
05/04/2019
การอบรม/สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง
รู้ทันเทคโนโลยี Blockchain: The Next Internet? รุ่นที่ 5
12 – 14 มิถุนายน 2562
สมาคมศูนย์วิชาการไทย – ออสเตรเลีย ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยมากว่า 30 ปี เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการสัมมนา/อบรมเชิงปฏิบัติการทางวิชาการต่างๆ ที่เป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของทั้งภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ เป็นการพัฒนาเครือข่ายบุคลากร
ในปี ค.ศ. 2016 ต่อ 2017 เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีที่เป็นที่สนใจเป็นอย่างมาก ว่าจะเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกได้เลย เหมือนกับอินเทอร์เน็ต (Internet) ที่เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเกือบทุกคนไปแล้ว โดยในปี 2017, 2018 Gartner ได้ยกให้เป็นหนึ่งใน Top 10 Strategic Technology Trends
เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของเงินดิจิทัล (Crypto Currency) เช่น
บิทคอยน์ (BitCoin) ที่เป็นที่รู้จักกัน ซึ่งในวงการการเงินการธนาคารก็ให้ความสนใจประยุกต์ใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นแล้วเทคโนโลยีบล็อกเชนยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโจทย์ที่หลากหลาย นอกจากการประยุกต์ด้านการเงิน และเริ่มเป็นที่สนใจของนักไอทีและนักวิจัยเป็นอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ
Blockchain มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทเหมือนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็น The Next Internet ก็เป็นได้ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2559 ทางมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (Thai Network Information Center Foundation) หรือ THNIC ได้จัดสัมมนาหัวข้อ “Blockchain: The Next Internet?” เพื่อจุดประกายเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชน เมื่อ 25 กรกฎาคม 2559 (http://www.thnic.or.th/blockchain-the-next-internet/) นำโดย ศาตราจารย์ ดร.กาญจนา กาญจนสุต และ ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ศิษย์เก่าออสเตรเลีย ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นอย่างมาก ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ได้ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีบล็อกเชนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นวิทยากรรับเชิญให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนกับหน่วยงานหลายแห่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และเพื่อความต่อเนื่องของการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ท่านทั้งสองได้เสนอให้สมาคมฯ จัดอบรม/สัมมนาในเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างต่อเนื่อง
สมาคมฯ นำโดย ผศ. ดร. สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ ศิษย์เก่าออสเตรเลีย ได้สร้างทีมศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ที่ประกอบด้วยคณะอาจารย์มหาวิทยาลัยและบริษัทที่พัฒนา Application ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (www.blockchain.fish) จำนวน 8-10 คน มีการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมตั้งแต่ต้นปี 2017 นี้ โดยเน้นที่การปฏิบัติให้เข้าใจจริง จนตกผลึกในระดับหนึ่ง พร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านโครงการฝึกอบรม/สัมมนาปฏิบัติการ โดยได้จัดครั้งแรกเมื่อ19 -21 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และผู้จัดมีความพึงพอใจในรูปแบบที่จัด
คือลงมือปฏิบัติก่อนในสองวันแรก เพื่อให้เข้าใจหลักการทำงานของ Blockchain ซึ่งจะทำให้เข้าใจการบรรยาย/สัมมนา และการประยุกต์ในวันที่สามของการอบรมได้ดี
ครั้งนี้เป็นการจัดในรุ่นที่ 5 โดยเนื้อหาภาคปฏิบัติของวันที่หนึ่งและวันที่สองยังเหมือนเดิม (แต่เพิ่มเติมเนื้อหามากขึ้น) เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานกับเทคโนโลยี แต่ได้เปลี่ยนเนื้อหาวันที่สามสำหรับวิทยากรรับเชิญพิเศษในส่วนของการประยุกต์ และมีกรณีศึกษา (Use cases) มากขึ้น
การอบรม/สัมมนานี้จะจัดขึ้นในวันพุธ – ศุกร์ที่ 12 – 14 มิถุนายน 2562 ณ ห้อง Orchid 4 ชั้น 11 Jasmine City Hotel สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ (BTS สถานีอโศก หรือ MRT สถานีสุขุมวิท) โทร. 02-204-5885
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่เว็บสมาคมฯ www.tatsc.or.th
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรม/สัมมนาได้รับความรู้และความเข้าใจถึงหลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรม/สัมมนาได้ฝึกปฏิบัติการการพัฒนา Application บน Blockchain
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรม/สัมมนาได้ฟังแนวคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับบล็อกเชนจากวิทยากรที่หลากหลายและจากบริษัทที่พัฒนา Application บน Blockchain
- เพื่อให้อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เข้าฝึกอบรม นำความรู้และประสบการณ์ไปสู่การเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาบุคลากรรองรับเทคโนโลยีบล็อกเชน
- เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ศึกษาใช้งานบล็อกเชน ที่จะร่วมมือ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
- ผู้ที่ต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีบล็อกเชนและการประยุกต์
- อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สนใจจะพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับบล็อกเชน
- นักไอทีหรือผู้สอนไอที และนักธุรกิจที่สนใจไอที
- ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่วางแผนเชิงกลยุทธ์ ที่ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ
วิธีการอบรม
การอบรมในสองวันแรก จะเป็นเนื้อหาสำหรับปฏิบัติการ เหมาะสำหรับอาจารย์ที่สอนไอที นักไอทีหรือนักพัฒนาระบบ (Developer) ซึ่งมีพื้นฐานทางไอทีในระดับหนึ่ง จะมีการบรรยายภาพรวมของทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง สำหรับภาคปฏิบัติการจะมีการแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ ไม่เกิน 8 คน เป็น Network 1 วง จะมี Network รวม 4 วง โดยมีวิทยากรหลักในแต่ละหัวข้อ สาธิตตามคู่มือ Step by step และให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติตาม และจะมีผู้ช่วยวิทยากรประจำกลุ่มคอยช่วยเหลือ
ส่วนวันที่สามจะเป็นหารบรรยายโดยวิทยากรพิเศษในภาคเช้า และในภาคบ่ายจะเป็นโจทย์การประยุกต์ใช้งาน
จำนวนรับเข้าอบรมและคุณสมบัติของผู้เข้าอบรม :
รับจำนวนจำกัด 30 คน
โดยผู้สมัครต้องนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุคของตนเองมา ซึ่งต้องมีคุณสมบัติดังนี้
RAM: at least 8 GB
Hard drive space: at least 30 GB free space
Processor: at least Core i5
OS: Windows7 or higher 64 bits
ค่าสมัครในการอบรม
ค่าลงทะเบียน ซึ่งจะมีเอกสารการอบรม ซอฟต์แวร์ที่ใช้อบรม รวมอาหารกลางวัน & อาหารว่าง เช้า-บ่าย ทุกวันอบรม
แบบที่ 1: ใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค คนละ 13,500 บาท (สำหรับนักพัฒนาระบบไอที)
แบบที่ 2: ไม่ใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค คนละ 11,000 บาท (สำหรับผู้บริหารไอทีหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเทคโนโลยีบล็อกเชน นักวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งควรมากับนักพัฒนาระบบไอที ที่ลงทะเบียนแบบที่ 1)
Promotion พิเศษ: สมัครและชำระค่าอบรมภายในวันที่ 3 มิถุนายน 2562
- ได้ส่วนลดพิเศษ 10% สำหรับบุคคลทั่วไป
-
ได้ส่วนลดพิเศษ 20% สำหรับ
ก. ผู้ที่เคยเข้าอบรมกับสมาคมแล้วในการจัดการอบรมที่ผ่านมาของสมาคมฯ
ข. เป็นสมาชิกสมาคม
ค. เป็นนิสิตนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนอยู่
แบบที่ 1: คนละ 13,500 บาท (ส่วนลด 10% เหลือ 12,150, 20% เหลือ 10,800)
แบบที่ 2: คนละ 11,000 บาท (ส่วนลด 10% เหลือ 9,900, 20% เหลือ 8,800)
หมายเหตุ ราคานี้เป็นราคาสุทธิแล้ว (เนื่องจากสมาคมฯ ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
การสมัครเข้าอบรม
โปรดกรอกรายละเอียดของผู้เข้าอบรมที่เว็บสมาคม www.tatsc.or.th เพื่อสำรองที่นั่งและสมาคมจะได้ส่งใบเสนอราคาให้ทาง e-mail
ชำระค่าสมัคร โดยจ่ายเข้า บัญชีธนาคารของสมาคมฯ ดังนี้:
ธนาคารกรุงเทพ สาขาจามจุรี สแควร์ บัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ เลขที่: 939-0-14153-0
ชื่อบัญชี: สมาคม ศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย
ชื่อบัญชี: สมาคม ศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย
และส่งสำเนา Pay-in slip มาทาง e-mail: tatsc2523@gmail.com
เมื่อทางสมาคมได้รับเอกสารแล้วจะตอบกลับทาง e-mail
อนึ่ง สำหรับผู้เข้าอบรมที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โปรดออกเอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามรายละเอียดดังนี้ สมาคมศูนย์วิชาการไทย-ออสเตรเลีย เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0993-000-178998
ที่อยู่ 968 ชั้น 9 อาคารอื้อจือเหลียง ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
หมายเหตุ :
1) สมาคมขอสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการอบรมในกรณีที่มีเหตุขัดข้องสุดวิสัย โดยทางสมาคมฯ จะโอนเงินคืนให้ท่านในกรณีที่ท่านได้มีการชำระมาก่อนล่วงหน้า
1) สมาคมขอสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการอบรมในกรณีที่มีเหตุขัดข้องสุดวิสัย โดยทางสมาคมฯ จะโอนเงินคืนให้ท่านในกรณีที่ท่านได้มีการชำระมาก่อนล่วงหน้า
2) สมาคมขออนุญาตที่จะออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้อบรมในวันอบรม และขอให้ผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายนำเอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาให้ในวันอบรมด้วย
3) หากมีข้อสงสัยประการใด โปรดติดต่อสมาคมที่ e-mail: tatsc2523@gmail.com
หรือที่ ผศ.ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ 089-211-6224 หรือ นางสาววนิดา แซ่ตั้ง 094-524-1559
กำหนดการอบรม/สัมมนาปฏิบัติการ เรื่อง
รู้ทันเทคโนโลยี Blockchain: The Next Internet? รุ่นที่ 5
12 – 14 มิถุนายน 2562 ณ ห้อง Orchid 4 ชั้น 11 Jasmine City Hotel สุขุมวิท 23 กรุงเทพฯ
วันที่หนึ่ง (พุธที่ 12 มิถุนายน 2562): ปฏิบัติการ รู้จัก Blockchain และการทำงานของ Blockchain
09:00 – 10:10 น ความเป็นมาของโครงการอบรม
Blockchain in Action: รู้จัก Blockchain องค์ประกอบ และหลักการทำงาน
สาธิตการใช้งาน Blockchain 1.0 (Bitcoins)
โดย ทีม Blockchain Fish บริษัท เอ็นเทอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด
(นายพุทธิพร หงษ์สุรกุล และ นายวรวัฒน์ เธียระวิบูลย์)
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. ปฏิบัติการ: ติดตั้ง Private Blockchain Network (Ethereum)
ปฏิบัติการ: เข้าใจการทำงานของ Blockchain ด้วย Private Blockchain Network
โดย ดร.อัครา ประโยชน์ และทีม Blockchain Fish
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. ปฏิบัติการ: เข้าใจการทำงานของ Blockchain ด้วย Private Blockchain Network (ต่อ)
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 17:00 น. ปฏิบัติการ: เข้าใจการทำงานของ Blockchain ด้วย Ethereum OneSpace Platform
– ตอบคำถามผู้เข้าอบรม โดย ทีมวิทยากร
วันที่สอง (พฤหัสที่ 13 มิถุนายน 2562): การพัฒนา Application บน Blockchain
09:00 – 10.10 น The Next Blockchain: Smart Contract (Blockchain 2.0)
ปฏิบัติการ: ติดตั้ง Private Blockchain Network สำหรับพัฒนา Application ด้วย Application ปลาทูเรียมของทีม Blockchain Fish (http://www.blockchain.fish/)
โดย ทีม Blockchain Fish
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. ปฏิบัติการ: แนะนำไลบรารี่ web3.js สำหรับการพัฒนา Application บน Ethereum OneSpace Platform กับกรณีตัวอย่างการบริการของธนาคาร ด้วยภาษา Solidity
โดย ผศ.ดร.วราภรณ์ วิยานนท์ และทีม Blockchain Fish
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. ปฏิบัติการ: การสร้างและทดสอบ Smart Contract สำหรับการพัฒนา Application การบริการของธนาคาร ด้วย Ethereum Wallet
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 17:00 น. ปฏิบัติการ: การใช้ Smart Contract สำหรับการพัฒนา Application การบริการของธนาคารบน Ethereum OneSpace Platform
– ตอบคำถามผู้เข้าอบรม โดย ทีมวิทยากร
วันที่สาม (ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562): รู้จักเทคโนโลยี Blockchain และการประยุกต์ใช้งาน
09:00 – 10:10 น. บรรยายนำ: แนวคิด หลักการ ของเทคโนโลยี “Blockchain” และการประยุกต์
โดย ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการคนแรกของซอฟต์แวร์พาร์ค
คณะกรรมการระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
10:10 – 10:30 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
10:30 – 12:00 น. การบรรยายพิเศษและสาธิตพิเศษ
บล็อกเชนกับดิจิทัลไอดีไทย: โซลูชั่นการยืนยันตัวตนและการทำ e-KYC
โดย คุณเพ็ญศรี อรุณวัฒนามงคล และคณะ บริษัท ตัวตน จำกัด (https://tuaton.co.th/)
12:00 – 13:00 น. หยุดพักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 15:00 น. Blockchain Explorer: แนวคิด Use case การประยุกต์ใช้ Blockchain
โดย ทีม Blockchain Fish และคณะ
– Certificates on Blockchain โดย Blockchain Fish
– Blockchain-based Cooperative System โดย ดร.นันทา จันทร์พิทักษ์
– E-Voting on Blockchain โดย ผศ.ดร.วราภรณ์ วิยานนท์
15:00 – 15:20 น. หยุดพักรับประทานอาหารว่าง
15:20 – 16:30 น ปฏิบัติการกลุ่มย่อย: การประยุกต์ใช้ Blockchain
16:30 – 17:00 น. – แจกประกาศนียบัตร
สรุปการอบรม และ ตอบคำถามผู้เข้าอบรม
โดย ผศ.ดร.สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ และทีมวิทยากร